โรคสมาธิสั้น เรียกได้ว่าเป็นภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมอง ซึ่งก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยนั้นจะมีความผิดปกติทางพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งถ้าหากว่าอาการได้เกิดในเด็ก ก็อาจเรียกอีกอย่างว่าโรคเด็กซนนั่นเอง แต่ถ้าหากอาการของโรคนี้ได้แอบซ่อน จนรอดจากการรักษามาจนถึงในวัยของผู้ใหญ่ โรคสมาธิสั้นนี้ก็อาจส่งผลกระทบกับชีวิต และความสำเร็จในหน้าที่การงานได้เลยทีเดียว

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

จากที่เคยได้เข้าใจว่าโรคสมาธิสั้นนี้ จะสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กวัยซนเท่านั้น ตอนนี้เราขอให้เปลี่ยนความคิดนี้สะใหม่เลย เพราะเนื่องจากในวัยรุ่นหรือในวัยหนุ่มสาว หรือว่าจะเป็นวัยผู้ใหญ่เต็มตัวแล้วนั้น ก็สามารถเป็นโรคสมาธิสั้นได้อีกเช่นกัน

โดยซึ่งปกติแล้วก็จะมีอาการบ่งบอกมาตั้งแต่วัยเยาว์แล้ว และอาการของโรคนั้น ก็ไม่ได้ทำการรักษาหรือรักษาแต่ไม่ได้รักษาต่อเนื่อง จนทำให้โรคนี้ติดตัวมาในวัยผู้ใหญ่ด้วย และทั้งนี้

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น ที่มีอาการมาตั้งแต่เด็ก แต่ได้รับการดูแลรักษามาเป็นอย่างดี เมื่อได้เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ อาการของโรคก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างปกติดี

2. ผู้ป่วยสมาธิสั้น ที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มาตั้งแต่เด็กหรือผู้ที่อาจได้รับการกดดันจากผู้ใกล้ชิด ก็จะทำให้ส่งผลกระทบ ทำให้มีพัฒนาการที่ช้าลง จนเป็นเหตุทำให้ส่งผลให้ผู้ป่วย กลายเป็นผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้า หรืออารมณ์แปรปรวน

จึงยิ่งต้องทำให้เกิดการคอยประคับประคอง อาการผิดปกติเหล่านี้ ด้วยยาเป็นประจำ และถึงแม้จะดูว่าผู้ป่วยจะยังอยู่ในสังคมได้ปกติ แต่ก็ควรต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเป็นอย่างดีอยู่ดี

3. ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น โดยที่ไม่รู้ตัวว่าตนเองได้ป่วยเป็นโรคนี้ ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้ถือว่าน่ากลัวเลยทีเดียว เพราะผู้ป่วยรายนี้ในวัยเด็กจะดูปกติและฉลาดสมวัย จึงทำให้ไม่มีใครคาดคิดว่าพฤติกรรมก้าวร้าว ที่ชอบความรุนแรง

และความไม่คิดก่อนทำของผู้ป่วยนั้น จะเป็นอาการของโรคสมาธิสั้น เพราะคิดเพียงแค่ว่า เป็นเพียงลักษณะนิสัยปกติ ของผู้ป่วยก็เท่านั้น จนในที่สุดผู้ป่วยก็ไม่ได้ทำการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จนทำให้ผู้ป่วยต้องเติบโตมา เป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาชีวิต และปัญหากับการเข้าสังคมอีกด้วย

และยังเป็นเหตุที่ในการใช้ชีวิตประจำวัน ของผู้ป่วยต้องลำบากขึ้นอีกด้วย เพราะจะต้องเผชิญกับการที่เข้ากับสังคมยาก มีปัญหากับการทำงาน หรืออาจจะเข้ากับผู้ร่วมงานไม่ได้ จนไปถึงกับการเข้าสังคมได้ยากขึ้น และปัญหาครอบครัวก็จะตามมา ถึงขั้นหาทางออกไม่ได้ บางครั้งอาจจะถึงขั้นเลิกกันเลยก็มี

การใช้ชีวิตก็จะยากลำบากขึ้น กว่าจะผู้ป่วยจะรู้ตัวก็ยาก จนทำให้ขาดการรักษาตามมาอีกด้วย หรืออาจจะถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าในขั้นที่รุนแรง จนผู้ป่วยเกิดอาการเครียด ถึงขั้นทำร้ายตัวเองได้เลยทีเดียว ในทางที่ดีทางครอบครัวก็ควรที่จะมีการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยที่ไม่ให้คลาดสายตาเด็ดขาด

s